วิธีการเลือกโฮสติ้ง
โฮสติ้ง (Hosting) ผู้ช่วยสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับโลกออนไลน์ ทำให้ทุกสิ่งอย่างเป็นเรื่องง่ายเพียงมีโอสติ้ง ที่คุ้นหูมากที่สุดคือ เว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) แต่ปัจจุบันโฮสติ้งได้รับความนิยมทางด้านอื่น ๆ ที่มากขึ้น อาทิ โฮสติ้งสำหรับฝากไฟล์มีเดียต่าง ๆ หรือโฮสติ้งขนาดเล็กเหมาะกับการใช้งานส่วนบุคคล ข้อดีของโฮสติ้งคือประหยัดงบประมาณ เพียงจ่ายค่าเช่าพื้นที่แก่ผู้ให้บริการ (รายเดือน, รายปี) ก็ได้พื้นที่จัดเก็บไฟล์หรือข้อมูลของเว็บไซต์ไว้ใช้งาน ไม่จำเป็นต้องซื้อและติดตั้งอุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์ที่เกินความจำเป็น เมื่อมีตัวเลือกให้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น ในฐานะลูกค้าควรมีข้อพิจารณาเพื่อให้ได้โฮสติ้งที่เหมาะกับการใช้งาน
วิธีเลือกโฮสติ้งให้เหมาะกับการใช้งานนั้นไม่ยาก แต่เสียเวลาเสาะหาโฮสติ้งที่ดีสักหน่อย เพราะแต่ละแห่งก็มีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกันซะทีเดียว สิ่งแรกที่ควรมองคือประสิทธิภาพของผู้ให้บริการ ตั้งแต่ชื่อเสียงที่ลือเลืองมา มาตรฐานที่ถูกบอกเล่า ความปลอดภัยในการจัดเก็บและสำรองข้อมูลของคุณ ช่วงปีที่ผ่านมามีเหตุการณ์ไฟดับ ณ พื้นที่หนึ่งในกรุงเทพฯ ซึ่งผู้ให้บริการโฮสติ้งรายหนึ่งอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวด้วย ไฟดับปุ๊บ เว็บไซต์สัญชาติไทยทั้งหลายต่างก็ให้บริการไม่ได้ และพบว่ามีข้อมูลบางส่วนที่ได้รับความเสียหาย หมายความว่าระบบรักษาความปลอดภัยยังไม่โอเคเท่าไหร่ ผู้บริการควรปรับปรุงต่อไป
Bandwidth นับเป็นหัวใจสำคัญต่อการใช้โฮสติ้งของคุณเลย ปริมาณการรับ – ส่งข้อมูลส่งผลต่อผู้เข้าใช้บริการเว็บไซต์หรือบริการของคุณอย่างมาก หาก Bandwidth น้อยคนจะเปลี่ยนไปใช้บริการเจ้าอื่น ๆ ที่รวดเร็วกว่า สุดท้ายเป็นเรื่องของค่าใช้จ่ายว่า สอดคล้องกับศักยภาพการให้บริการของโฮสติ้งหรือไม่ บางแห่งมีค่าบริการที่สูงแต่การให้บริการเหมือนรายอื่น ๆ ก็ควรปัดตกไป ก่อนตัดสินใจควรพิจารณาองค์ประกอบจากสิ่งที่คุณต้องการว่า ใช้พื้นที่เพื่ออะไรบ้าง ระบบอย่างไร ต้องใช้พื้นที่หลักเท่าไหร่ พื้นที่สำรองเท่าไหร่จึงจะปลอดภัย สิทธิประโยชน์ที่ไม่ถูกเบียดเบียนอีก มองภาพรวมแล้วจึงคัดแยกย่อยรายละเอียดให้ดี เพราะโฮสติ้งมีทั้งของไทยและต่างชาติ แน่นอนว่าความแตกต่างก็มี ความคล้ายคลึงก็มีเช่นกัน