การ Redirect เพื่อแก้ไข URL By wpthaiuser.com

การเปลี่ยน URL นั้นถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญของเว็บเลยทีเดียว เพราะเท่ากับว่าลิงค์ต่างๆ ที่เราได้วางไว้แล้ว ไม่ว่าจะบนเว็บตัวเอง เว็บคนอื่น หรือบน Social Network อย่าง Facebook, Twitter เหล่านี้จะไม่ถูกเปลี่ยนตามไปด้วย ดังนั้นก็จะทำให้เราเหมือนเสีย Backlink ไปโดยปริยาย นอกจากไม่เป็นผลดีต่อ SEO แล้ว ยังกระทบต่อผู้เข้าชมเว็บโดยตรง เนื่องจากว่า ไม่สามารถเปิดลิงค์ดูหน้าที่ต้องการได้ เพราะจะเจอกับ 404 Error Page not found ในกรณีแบบนี้

อีกกรณีหนึ่งสำหรับการแก้ไข URL ก็คือ การใช้ URL ภาษาไทย ซึ่งหากเราไปวางบน Social ต่างๆ นั้นจะเห็นว่ามันไม่สวยเลย มันยาวและเป็นรหัสตัวเลขมั่วไปหมด นั่นเพราะบราวเซอร์ต้องพยายามแปลง URL ภาษาไทยให้โปรแกรมอ่านออกในวิธีของมัน หรือถ้าหากใครไปแปะลิงค์ในเว็บบอร์ด บางทีอาจจะเจอปัญหาถ้าวางลิ้งแบบโท่งๆ ไม่ได้ครอบด้วยแท็กลิงค์อีกที ลิงค์จะไม่ครบค่ะ มันจะขาดไปเป็นช่วงๆ ทำให้คนคลิกแล้วก็ไม่สามารถไปที่หน้าที่อยากให้ไปได้

ตัวอย่าง URL ภาษาไทย

https://asiagb.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%99-wordpress/

ซึ่งจริงๆ แล้ว บนเว็บเรานั้นมันก็ไม่ได้ยาวมากมาย URL ตัวจริงก็คือ https://asiagb.com/การเปลี่ยนภาษาใน-wordpress นั่นเองค่ะ

การ ใช้ URL ภาษาไทยยังมีความเสี่ยงอีกหลายอย่าง บางคนอัพเดต WordPress ที URL ก็เปลี่ยนที ต้องใช้ปลั๊กอินที่ช่วยทำให้ URL ยาวๆ แต่บางครั้งก็ยังต้องมาคอย ปิดเปิดปลั๊กอินใหม่ทุกครั้งที่อัพเดต WordPress เป็นต้น ดังนั้นทางออกง่ายๆ อีกวิธีหนึ่งก็คือการเปลี่ยนไปใช้ URL ภาษาอังกฤษค่ะ เราจะได้ URL ที่สวยงามกว่า สั้นกว่า และจดจำได้ง่ายกว่า คนอ่านรู้เรื่อง คอมก็อ่านรู้เรื่อง สื่อสารเหมือนเป็นภาษาเดียวกัน ปลั๊กอินที่เราจะนำมาใช้ในการ Redirect วันนี้ก็คือ

Redirect

คือ การที่เราเปลี่ยนเส้นทางของ URL ต่างๆ ที่เข้ามายังเว็บของเราให้เป็นไปตามที่เรากำหนด ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะผ่านเข้ามาจากลิงค์ไหนก็ตาม ถ้าเป็น URL ที่เราตั้งค่าให้ทำการ Redirect ไว้ ระบบจะทำการส่งต่อไปยัง URL หรือเว็บปลายทางที่กำหนดทันที

Quick Page/Post Redirect Plugin

quick-redirect-plugin

หลังจากติดตั้งปลั๊กอินแล้วให้ไปที่เมนู Quick Redirects บนหน้าควบคุม (Dashboard) ของเรานะคะ จะเจอกับหน้าช่องสำหรับกรอก URL อยู่ 2 ฝั่งแบบในรูป

add-new-redirect

เปิดหน้านี้ทิ้งไว้แล้วไปที่เมนู เรื่อง > เรื่องทั้งหหมด จาก นั้นให้เลื่อนไปที่โพสที่เราต้องการดูลิงค์ ชี้เม้าส์เหนือคำว่า ดู (View) ด้านล่างของบราวเซอร์จะแสดงลิงค์ให้เราเห็นนะคะ วิธีนี้เป็นวิธีการง่ายๆ ในการเช็คลิงค์โดยไม่ต้องเสียเวลาเปิดทีละโพสแก้ทีละหน้าค่ะ ถ้าลิงค์นั้นเป็นภาษาไทย ก็ให้เลือก คัดลอกที่ตั้งลิงค์ (Copy Link) แต่ละบราวเซอร์ก็ใช้คำไม่เหมือนกันนะคะ ระบบก็จะก๊อปปี้ลิงค์นี้ไว้แล้ว

copy-link

หาก เราเอา URL ที่คัดลอกไว้แล้วนี้ไปวางในปลั๊กอิน Quick Redirects เลยไม่ได้นะคะ เพราะใน WordPress มันก็จะอ่านภาษาไทยของเราได้ปกติค่ะ ดังนั้นเราก็เปิด Facebook ขึ้นมาก่อน แล้วก็ค่อยเอาไปวาง บราวเซอร์จะแปรงเป็นแบบรหัสให้อัตโนมัติเป็นลิงค์กลายพันธุ์ยาวพรืดมาก แล้วแต่ว่ามีภาษาไทยมากแค่ไหน ถ้าไทยล้วนก็ยาวหน่อย ถ้าไทยปนอังกฤษก็สั้นหน่อย จริงๆ แบบไทยล้วนบางทีมันจะตัดคำที่ยาวเกินออกไปเลยค่ะ

paste-on-facebook-post

จากนั้นก็ให้เราก๊อปปี้ลิงค์ที่แปลงแล้วนี้ไปวางในปลั๊กอิน Quick Redirect ที่เราเปิดค้างไว้แล้วได้เลยค่ะ โดยใส่ในช่อง Request URL ก่อนนะคะ

request-url

หลัง จากนั้นกลับไปที่หน้าเดิมคือหน้า เรื่อง > เรื่องทั้งหมด ที่เรื่องเดิมที่เราทำการคัดลอกลิงค์ก่อนหน้านี้ ให้เราคลิกที่คำสั่ง แก้ไขอย่างเร็ว (Quick Edit) แล้วทำการแก้ไข Slug ให้เป็นคำใหม่ที่เราต้องการค่ะ เอาที่อ่านง่ายๆ และเป็นภาษาอังกฤษ จะได้ไม่กลายพันธุ์อีก แล้วคลิกที่ปุ่ม Update

แล้ว ทำเช่นเดิมนะคะ ชี้เม้าส์ไปที่คำว่า ดู แล้วคัดลอกลิงค์ แต่ตอนนี้ลิงค์เราจะอัพเดตเป็นภาษาอังกฤษแล้ว เราไม่ต้องเอาไปวางใน Facebook แล้วค่ะ ให้เราเอาไปวางในปลั๊กอิน Quick Redirets ได้เลย ในช่อง Destination URL แล้วคลิกที่ปุ่ม Add New Redirections ด้านล่าง สามารถเพิ่มได้ทีละ 3 อัน คือเพิ่มเสร็จแล้วค่อยกด Add ก็ได้ค่ะ

destination-url

เท่า นี้ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการแก้ไขและรีไดเร็คลิงค์แล้วค่ะ ซึ่งถ้าเราเข้าจากลิงค์เดิมที่เป็นภาษาไทยจาก Facebook มันก็จะนำเรามาที่โพสเดิม แต่เป็น URL ใหม่ ซึ่งหากเราไม่ทำการรีไดเร็ค มันก็อาจจะหาหน้านี้ไม่เจอ เนื่องจากว่ามันถูกเปลี่ยน URL จึงกลายเป็นว่าไม่มีหน้านี้อยู่แล้ว วิธีนี้สามารถนำไปใช้กับลิงค์เก่าๆ ที่อาจจะไม่มีแล้วจริงๆ แต่เราไม่ต้องการให้คนอื่นคลิกเข้ามาเจอหน้า 404 Page not found ของเราก็สามารถใช้วิธีนี้ได้ เพียงแต่อย่ารีไดเร็คไปหน้าเดียวกันหมด เช่น ไปหน้าหลักหมดทุกลิงค์เป็นร้อยๆ ลิงค์ แบบนี้อาจจะโดนกูเกิ้ลเล่นงานแทน เดี๋ยวจะค้นหาเว็บตัวเองไม่เจอนะคะ

การวางแผนเรื่องการใช้ URL นี้สำคัญเช่นกันในกรณีของภาษาไทย ใช้อันไหนแล้วก็อยากให้ใช้ยาวๆ ค่ะ เพราะเมื่อใดที่เราเปลี่ยน หลายตัวแปรที่เกี่ยวข้องกันก็จะเปลี่ยนไปด้วย เช่น Like จาก Facebook ที่มีคนคลิกหน้านั้นเยอะๆ ก็จะกลายเป็น 0 ทันที T_T แต่เราก็เปลี่ยนนะคะ เป็นแค่ตัวเลขค่ะ ช่างมันเถอะ นี่แหละผลของการไม่วางแผนล่วงหน้า

สำหรับคนที่ไม่แคร์เรื่องความยาวนี้ อยากจะใช้ URL ภาษาไทย เพราะคิดว่ายังไง SEO ใน URL ย่อมดีกว่าแน่นอน ก็ลองใช้ปลั๊กอิน Long URL Maker ดูนะคะ แต่ส่วนตัวเราค่อนข้างขวางหูขวางตากับลิงค์กลายพันธุ์แนวนี้ ขอผ่านแล้วกันค่ะ

 

แหล่งที่มา http://www.wpthaiuser.com/quick-redirects/

ทำเว็บไซต์แบบไม่ต้องโค้ดด้วย WordPress By wpthaiuser.com

บทความนี้ไม่ได้จะมาบอกว่าบอกว่าการรู้เรื่องโค้ดเป็นสิ่งไม่จำเป็นนะคะ แต่ตรงกันข้ามคือมัน จำเป็นมาก หากเราต้องการที่จะทำเว็บแบบเป็นอาชีพ แต่ WordPress นั้นจะถูกทำออกมาให้สามารถใช้งานง่ายสำหรับคนที่อยากทำเว็บไซต์ส่วนตัว แต่ไม่รู้เรื่องโค้ด สามารถที่จะทำเว็บเองได้เหมือนการไปซื้อของในตลาดมาทำกับข้าว เราอยากให้กับข้าวของเราออกมารสชาติแบบไหน หน้าตายังไง ก็ไปเลือกซื้อวัตถุดิบ แล้วมาปรุงแต่งให้ออกมาอย่างที่ต้องการ ดังนั้นเครื่องมือของ WordPress ไม่ว่าจะเป็นธีมหรือปลั๊กอินจึงได้มากตามไปด้วย

แต่หากเราเป็นคนที่ ต้องการจะทำเว็บให้คนอื่นเป็นอาชีพ เราควรที่จะสามารถโค้ดเองให้เป็น เพื่อที่เวลาทำเว็บไซต์ให้ลูกค้านั้นจะได้ไม่ต้องผสมผสานเครื่องมือไปมากมาย เพราะคนทั่วไปที่ไม่ใช่คนที่ชอบเทคโนโลยีอยู่แล้ว เขาต้องการเพียงอะไรที่เรียบง่าย รวดเร็ว กรอกข้อมูลแล้วเผยแพร่ออกมาเป็นอย่างที่ต้องการได้เลย จะเห็นว่าแม้จะมีธีมและเครื่องมือที่ครบครันมากมาย แต่เราก็ยังจะเจอปัญหากับความยุ่งยากในการตั้งค่าต่างๆ อยู่เสมอ ยิ่งยืดหยุ่นมาก การตั้งค่าก็จะยิ่งมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

วันนี้เราจะมาพูดถึงแง่มุมของผู้ใช้งานทั่วไปที่อยากจะจับ WordPress มาทำเว็บไซต์ด้วยตัวเอง ว่าเราจะต้องเตรียมตัวรับมือกับอะไรบ้าง

 1. เลือกธีมให้เหมาะกับเว็บที่จะทำ

สิ่ง สำคัญเรื่องแรกในการทำเว็บด้วย WordPress ก็คือ การเลือกธีม นอกจากที่จะเลือกจากหน้าตาของธีมแล้ว ฟังชั่นการใช้งานต่างๆ ที่เขามีมาให้เป็นสิ่งที่เราต้องเชคอย่างละเอียด เพราะอย่าลืมว่าถ้าเราเขียนโค้ดไม่เป็น การจะเพิ่มหรือลดอะไรซักอย่างเข้าไปให้มันสวยงามดูดีเข้ากันนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย วิธีการเลือกธีมอันดับแรกเลยคือ เลือกตามหมวดหมู่ก่อน

mythemeshop-cat

จริง อยู่ที่ว่ามันไม่ใช่เรื่องจำเป็นที่จะต้องเลือกธีมตรงกับหมวดหมู่เสมอไป เพราะเราสามารถที่จะอแด็ปส่วนต่างๆ ให้เข้ากับเนื้อหาของเราได้ แต่การเลือกธีมแบบนี้ก็จะยังต้องอยู่บนฟังชั่นการใช้งานพื้นฐานของเว็บที่ เราต้องการจะทำอยู่ดี เว็บบล็อกสำหรับเขียนบทความทั่วไปอาจไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะ WordPress นั้นมีความเป็นบล็อกเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว แต่หากใครจะทำเว็บที่เฉพาะด้านกว่านั้น เช่น eCommerce, Magazine, News, Travel ก็จะเหมาะกว่าที่จะเลือกธีมเฉพาะด้านนั้นๆ ไปเลย อย่างที่บอกว่าเครื่องมือพื้นฐานของเขาก็จะมีครบมากกว่า ธีมข่าวสามารถที่จะจัดแบ่งหมวดหมู่ข่าวต่างๆ ให้น่าสนใจได้ดีกว่า ธีมแฟชั่นมีความเรียบหรูโทนสีคลาสสิกแต่ส่งให้ภาพเสื้อผ้าและนางแบบดูโดด เด่น ธีมท่องเที่ยวเพิ่มแผนที่ให้เราสามารถปักหมุดยังจุดหมายต่างๆ ควบคู่ไปกับบทความได้ เป็นต้น ธีมเฉพาะด้านเหล่านี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเราได้มากโดยไม่ต้องไปปวด หัวกับการออกแบบอะไรมากมาย

แต่หากใครจะทำเว็บแนวบริษัท หรือครีเอทีฟที่เน้นการออกแบบเยอะๆ มีความเป็นเอกลักษณ์ ธีมแนว Page Builder จะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เพราะสามารถที่จะนำมาสร้างและออกแบบเว็บได้อย่างรวดเร็วและความสวยงามก็จะ แปรผันตามความคิดสร้างสรรค์ของคนออกแบบล้วนๆ ธีมเหล่านี้ส่วนใหญ่สามารถที่จะลากวางนำส่วนประกอบต่างๆ มาจัดตามที่เราต้องการและปรับแต่งให้มีเอกลักษณ์มากขึ้น อันนี้เหมาะกับศิลปิน

avada-banner

 

ดัง นั้นอยากให้ผู้อ่านค่อยๆ ใช้เวลาเลือก เปิดดู Demo ตัวอย่างในแต่ละหน้า ว่าเขามีอะไรมาให้บ้าง ในกรณีที่เราเขียนโค้ดไม่เป็นนั้นก็ต้องยอมรับว่า เหลือย่อมดีกว่าขาด

2. ใช้เวลากับการศึกษาการปรับแต่งธีมนั้นๆ

mythemeshop-general-settings

สิ่ง แรกเลยหลังจากที่ติดตั้งธีม เราต้องไปที่ Theme Options และ Customize ก่อนเลย ทั้ง 2 เมนูนี้อยู่บนเมนูหลัก Apperance (รูปแบบบล็อก) เราจะได้เห็นความเป็นไปได้คร่าวๆ ว่าเราจะสามารถที่จะกำหนดเปิดปิดจัดวางอะไรตรงไหนได้ยังไงบ้าง ปกติแล้วแต่ละเมนูเขาก็จะมีคำอธิบายประกอบ ว่าการตั้งค่านี้เกี่ยวกับอะไร ดังนั้น ภาษาอังกฤษ เป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่เก่งภาษาแล้วจะทำไม่ได้เลย แค่เปิดดิกชันนารี่เดาๆ ความหมายเอา แล้วลองคลิกดู แล้วก็เปิดหน้าเว็บอีกหน้าควบไปด้วย เราจะได้รู้ว่า ถ้าเราทำแบบนี้ แล้วจะเกิดอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง อย่ากลัวที่จะลอง

แทบ ทุกธีมบนเว็บเขาจะมีสิ่งที่เรียกว่า Document เจ้าสิ่งนี้แหละคือคู่มือที่จะทำให้เรารู้ว่าควรจะปรับแต่งอะไรตรงไหน ก็เป็นภาษาอังกฤษอีกเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่เขาก็จะมีทั้งภาพประกอบ บางที่ก็มีวิดีโอให้เปิดดูได้เลย ธีมฟรีที่เราติดตั้งผ่าน WordPress บนหลังบ้านเรานั้น ก็มีเว็บของคนเขียนธีมอยู่ หากกดดูรายละเอียดธีมเราก็จะสามารถไปยังเว็บหลักของเขาเพื่อที่จะดูคู่มือ เหล่านี้ได้

divi-document

WordPress มีธีมและปลั๊กอินมากมายให้เราศึกษา ยิ่งเรียนรู้มากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งเชี่ยวชาญมากขึ้นเท่านั้น ธีมบางธีมที่เป็น Page Builder เช่น Avada, Divi, The7 พวกนี้ ถ้าเชี่ยวชาญมากพอก็สามารถทำเว็บออกมาได้แบบไม่จำกัดรูปแบบ สามารถสร้างเงินสร้างงานและอาชีพให้คุณได้

3. ปล่อยวาง

leaveit-or-fixit

ข้อ นี้มาแปลก แต่มันคือเรื่องจริงที่ต้องปล่อยวางในบางครั้ง นี่คือเหตุผลที่ทำไม WordPress Theme ส่วนใหญ่จะมีการตั้งค่ายิบย่อยมากมาย เหตุผลของเขาก็เพื่อให้เราสามารถปรับแต่งได้เยอะที่สุด แต่หากจุดไหนที่มันไม่มี ไม่ได้เขียนมา หากเราเขียนโค้ดไม่เป็นเราก็ต้องปล่อยวางมันไป หากเราเลือกในข้อแรกมาดีแล้ว เราก็จะเจอกับเรื่องที่ต้องปล่อยวางน้อยลง เลือกแบบส่งๆ ก็อาจจะปวดหัวนิดนึง วิธีแก้คือข้อต่อไป

4. The Power of Community!

13411976_1440670845958952_1334135955684827_o

ข้อนี้จะมาช่วยให้เราไม่ต้องปล่อยวาง ทางออกในปัญหานั้นมีอยู่มากมาย อันดับแรกเลยคือ Support สิ่งที่หลายๆ คนไม่เห็นความสนใจ หน้าที่ของ Support ที่นอกเหนือจากจะช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้แล้ว บางเจ้าก็ยังช่วยปรับแต่งในส่วนที่เราต้องการได้ด้วย แต่ไม่ใช่ปรับแต่งแบบเหมือนจ้างเขามาทำให้นะคะ เขาจะยินดีช่วยเหลือในการปรับแต่งโค้ดของเขา เช่น ปรับแต่งธีมเอาส่วนที่เราไม่ต้องการออไป แต่ไม่มีใน Theme Options เขาก็จะช่วยเหลือเรา หากเป็นปลั๊กอิน ส่วนใหญ่ก็อาจจะเกี่ยวกับการทำงานไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็นเพราะว่าอาจจะไป มีปัญหากับส่วนอื่นๆ ในเว็บ เป็นต้น

Community สิ่งนี้เองที่ทำให้ WordPress มีคนใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีชุมชนผู้ใช้งานขนาดใหญ่ และเป็นกลุ่มก้อนกัน ก่อให้เกิดการแบ่งปันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตั้งแต่คนใช้งานทั่วไป เว็บดีไซน์เนอร์ โปแกรมเมอร์ ฯลฯ

กลุ่มของคนทำเว็บ WordPress ในประเทศไทยที่ค่อนข้างแอคทีพและมีคนให้คำปรึกษาดีเลยทีดีเลยทีเดียว https://www.facebook.com/groups/wpalliance/ และมีการจัด WordPress Meet up ทุกเดือนอีกด้วย

wp-thai-group

ธีมบางธีมเช่น Divi ก็มีกรุ๊ปที่มีสมาชิกนับหมื่นเลยทีเดียวเพราะมีคนใช้งานจากทุกประเทศ ซึ่งก็ยังแตกกลุ่มออกไปอีกหลายกลุ่ม ดังนั้นเราสามารถที่จะใช้จุดเด่นในเรื่อง Community ของ WordPress ในการแก้ไขปัญหาได้ และบางทีก็มักจะได้รับมิตรภาพดีๆ จากคนที่ชอบในสิ่งเดียวกันด้วย เราก็อาศัยเรียนรู้จาก Suport และ Community เหล่านี้ได้เช่นกัน You’ll Never Walk Alone

 

แหล่งที่มา http://www.wpthaiuser.com/building-website-no-codeing-with-wordpress/