โดเมนคืออะไร

โดเมนคืออะไร

 

เชื่อว่าในปัจจุบันนี้คงมีน้อยคนมาก ๆ ที่ไม่เคยใช้งานเว็บไซต์ เพราะกว่าร้อยละ 80 ของประชากรต้องเข้าไปใช้งานตามต้องการ อาทิ ติดตามข่าวสาร-เหตุการณ์ เช็คจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน หรือเพื่อการสื่อสารต่าง ๆ โดยเว็บไซต์หลายประเภทให้คุณเลือกใช้งานตามต้องการ คนทั่วไปคงทราบเพียงว่าหากต้องการใช้งานประเภทใดควรเข้าเว็บไซต์ตัวไหน แต่หากเอ่ยคำว่า “โดเมน” ขึ้นมา คนที่ไม่เคยเรียนหรือไม่ใส่ใจในวิชาคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สมัยมัธยมคงไม่ทราบว่าคือสิ่งใด และเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์อย่างไร วันนี้เราจะแนะนำอย่างง่าย ๆ ว่าโดเมนคืออะไร หากคุณทราบแล้วจะคิดเลยว่าเส้นผมบังภูเขาแท้เชียว

 

โดเมน (Domain) คือ ชื่อเว็บไซต์ เช่น www.youtube.com หรือ www.outlook.com เห็นที่เรากล่าวไว้คิดหรือยังว่า ‘เส้นผมบังภูเขา’ จริง ๆ โดเมนจัดแบ่งได้ 2 ลักษณะคือ โดเมน 2 ระดับคือ (1)ชื่อโดเมน.(2)ประเภทของโดเมน อย่างตัวอย่าง Youtube.com แบ่งได้ว่าโดเมนเนมคือ Youtube ส่วน .com บ่งบอกว่าเว็บไซต์นี้กำกับดูแลโดยบริษัทหรือองค์กรพาณิชย์ และโดเมน 3 ระดับคือ ชื่อโดเมน.ประเภทของโดเมน.ประเทศ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ Google.co.th หมายความว่าเป็นเว็บไซต์ที่มีการบริหารจัดการอยู่ภายในประเทศนั้น ๆ จะเป็นบริษัทเดียวหรือลูกข่ายก็ได้ ขอเพิ่มประเภทของโดเมนให้คุณได้ทราบด้วย

 

ประเภทของโดเมน 2 ระดับ ประเภทของโดเมน 3 ระดับ
·     .com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์ ·    .co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
·     .org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร ·    .ac คือ สถาบันการศึกษา
·     .net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือจุดเชื่อมต่อเครือข่าย ·    .go คือ องค์กรของรัฐบาล
·     .edu คือ สถาบันการศึกษา ·    .net คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย
·     .gov คือ องค์กรของรัฐบาล ·    .or คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
·     .mil คือ องค์กรทางทหาร  

 

โดเมนเป็นดั่งประตูให้การเข้าใช้งานเว็บไซต์เป็นเรื่องง่าย และเป็นที่จดจำของผู้เข้าใช้งาน หากไม่มีโดเมนไซร้การใช้งานเว็บไซต์คงเป็นเรื่องที่ยากมากแน่นอน การจดโดเมนต้องคำนึงตามข้อตกลงด้วย อาทิ ต้องดูก่อนว่าโดเมนที่คุณสนใจเป็นของหน่วยงานราชการหรือไม่ หรือเป็นโดเมนที่มีการใช้งานอยู่แล้วหรือเปล่า หากใกล้เคียงมาก ๆ ก็อันตรายด้วย เพื่อเป็นการเคารพสิทธิ์ของผู้อื่นไม่ควรตั้งโดเมนที่เปลี่ยนอักษรไม่กี่ตัวแต่มีภาพรวมที่ใกล้เคียง

วิธีเลือกโฮสติ้ง

วิธีการเลือกโฮสติ้ง

 

โฮสติ้ง (Hosting) ผู้ช่วยสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับโลกออนไลน์ ทำให้ทุกสิ่งอย่างเป็นเรื่องง่ายเพียงมีโอสติ้ง ที่คุ้นหูมากที่สุดคือ เว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) แต่ปัจจุบันโฮสติ้งได้รับความนิยมทางด้านอื่น ๆ ที่มากขึ้น อาทิ โฮสติ้งสำหรับฝากไฟล์มีเดียต่าง ๆ หรือโฮสติ้งขนาดเล็กเหมาะกับการใช้งานส่วนบุคคล ข้อดีของโฮสติ้งคือประหยัดงบประมาณ เพียงจ่ายค่าเช่าพื้นที่แก่ผู้ให้บริการ (รายเดือน, รายปี) ก็ได้พื้นที่จัดเก็บไฟล์หรือข้อมูลของเว็บไซต์ไว้ใช้งาน ไม่จำเป็นต้องซื้อและติดตั้งอุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์ที่เกินความจำเป็น เมื่อมีตัวเลือกให้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น ในฐานะลูกค้าควรมีข้อพิจารณาเพื่อให้ได้โฮสติ้งที่เหมาะกับการใช้งาน

 

วิธีเลือกโฮสติ้งให้เหมาะกับการใช้งานนั้นไม่ยาก แต่เสียเวลาเสาะหาโฮสติ้งที่ดีสักหน่อย เพราะแต่ละแห่งก็มีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกันซะทีเดียว สิ่งแรกที่ควรมองคือประสิทธิภาพของผู้ให้บริการ ตั้งแต่ชื่อเสียงที่ลือเลืองมา มาตรฐานที่ถูกบอกเล่า ความปลอดภัยในการจัดเก็บและสำรองข้อมูลของคุณ ช่วงปีที่ผ่านมามีเหตุการณ์ไฟดับ ณ พื้นที่หนึ่งในกรุงเทพฯ ซึ่งผู้ให้บริการโฮสติ้งรายหนึ่งอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวด้วย ไฟดับปุ๊บ เว็บไซต์สัญชาติไทยทั้งหลายต่างก็ให้บริการไม่ได้ และพบว่ามีข้อมูลบางส่วนที่ได้รับความเสียหาย หมายความว่าระบบรักษาความปลอดภัยยังไม่โอเคเท่าไหร่ ผู้บริการควรปรับปรุงต่อไป

 

Bandwidth นับเป็นหัวใจสำคัญต่อการใช้โฮสติ้งของคุณเลย ปริมาณการรับ – ส่งข้อมูลส่งผลต่อผู้เข้าใช้บริการเว็บไซต์หรือบริการของคุณอย่างมาก หาก Bandwidth น้อยคนจะเปลี่ยนไปใช้บริการเจ้าอื่น ๆ ที่รวดเร็วกว่า สุดท้ายเป็นเรื่องของค่าใช้จ่ายว่า สอดคล้องกับศักยภาพการให้บริการของโฮสติ้งหรือไม่ บางแห่งมีค่าบริการที่สูงแต่การให้บริการเหมือนรายอื่น ๆ ก็ควรปัดตกไป ก่อนตัดสินใจควรพิจารณาองค์ประกอบจากสิ่งที่คุณต้องการว่า ใช้พื้นที่เพื่ออะไรบ้าง ระบบอย่างไร ต้องใช้พื้นที่หลักเท่าไหร่ พื้นที่สำรองเท่าไหร่จึงจะปลอดภัย สิทธิประโยชน์ที่ไม่ถูกเบียดเบียนอีก มองภาพรวมแล้วจึงคัดแยกย่อยรายละเอียดให้ดี เพราะโฮสติ้งมีทั้งของไทยและต่างชาติ แน่นอนว่าความแตกต่างก็มี ความคล้ายคลึงก็มีเช่นกัน

โฮสติ้ง คืออะไร

Devices-network-wired-icon

โฮสติ้งคืออะไร

 

หากใครกำลังจะดำเนินการทำเว็บไซต์เพื่อ ส่วนตัว ค้าขาย หรือบริษัท ต้องเคยเห็นป้ายซึ่งมีคำว่า Hosting หรือ โฮสติ้ง อาทิ บริการให้เช่าโฮสติ้ง ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโฮสติ้ง ฯลฯ สำหรับคนทั่วไปคงไม่เอะใจหรือไม่ให้ความสนใจว่าสิ่งนี้คืออะไร แต่สำหรับผู้คร่ำวอดในสังคมไอทีแล้ว โฮสติ้งเป็นสิ่งที่มีมานานแล้ว และคนทั่ว ๆ ไปเองก็เคยใช้บริการแบบไม่รู้ตัวมาก่อน สำหรับคุณที่ได้อ่านบทความนี้กำลังต้องการความเข้าใจเกี่ยวกับโฮสติ้งอยู่สินะ เราจะอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ว่าโฮสติ้งคืออะไร และมีบทบาทในชีวิตประจำวันของคุณมาก-น้อยแค่ไหนกัน

Hosting (โฮสติ้ง) หากตีความหมายตามหลักภาษาแล้ว “Host” คือ “เจ้าภาพ” หรือ “เจ้าบ้าน” ดังนั้น Hosting จึงมีความหมายอย่างเข้าใจง่าย ๆ และเห็นภาพอย่างชัดเจนคือ Hosting เป็นพื้นที่สำหรับตลาดนัดจึงแบ่งล็อตให้เช่าตามความต้องการของผู้เช่า ซึ่งโฮสติ้งที่เปิดให้เช่าในทุกวันนี้มีหลายวัตถุประสงค์อย่างมาก อาทิ เว็บโฮสติ้ง ดาต้าโฮสติ้ง ฯลฯ วิธีการใช้งานคือ เมื่อคุณสร้างสรรค์เว็บไซต์เป็นรูปร่างแล้ว ก็จัดการ Upload ข้อมูลลงในโฮสติ้งที่เช่าไว้ โดยมีโดเมนเนมเป็นดั่งประตูสู่เว็บไซต์ของคุณ

เมื่อมีผู้ให้บริการโฮสติ้งมากขึ้น ก็ขึ้นกับคุณแล้วว่าจะได้ไพ่ดีหรือไพ่บอด การเลือกโฮสติ้งมีความสำคัญต่อการทำธุรกรรมบนโลกออนไลน์อย่างมาก

 

 

 

 

VPS คืออะไร

Backup-IBM-Server-icon

VPS คืออะไร

สำหรับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไปก็คุ้นเคยกับการใช้งานโซเชียลมีเดียต่าง ๆ หรือเว็บไซต์ที่เหมาะกับการทำงานของตัวเองมากกว่า ซึ่งโลกไอทีไม่ได้หยุดแค่สิ่งที่คุณรู้จัก โลกไอทีส่วนอื่น ๆ ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องตามศักยภาพของผู้เชี่ยวชาญที่สร้างสรรค์เพื่ออำนวยความสะดวกแก่คนอื่น ๆ มากขึ้น หากเอ่ยว่า “VPS” คุณเคยได้ยินผ่าน ๆ หูบ้างหรือไม่ มาดูกันว่าเจ้าสิ่งนี้จะมีประโยชน์กับคุณมากน้อยแค่ไหนกัน

VPS เป็นชื่อย่อของ Virtual Private Server ซึ่งตีความหมายได้ว่า เซิร์ฟเวอร์เสมือน จากปกตินั้นการติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ 1 ชุดจะมีไว้เพื่อทำงานด้วยระบบปฏิบัติการเดียว หากต้องการดูแลระบบต่าง ๆ ด้วยระบบปฏิบัติการใหม่จำต้องติดตั้งเซิร์ฟเวอร์เพิ่มอีก 1 ชุด แน่นอนว่าพื้นที่ของเซิร์ฟเวอร์แต่ละตัวจะเหลือเยอะมากและสิ้นเปลืองงบประมาณเกินไป เจ้า VPS จะช่วยให้เซิร์ฟเวอร์ 1 ชุดสามารถรันระบบปฏิบัติการได้มากกว่า 2 ระบบที่คุณต้องการ

เพื่อให้เห็นภาพอย่างชัดเจนลองนึกถึงเค้กหนึ่งชิ้นที่มีน้ำหนัก 2-3 ปอนด์ เพื่อการแจกจ่ายแก่คนอื่น เราต้องตัดแบ่งเป็น 8 ชิ้น หรือ 12 ชิ้นก็ตามแต่ ฮาร์ดแวร์ก็คือเค้กชิ้นใหญ่ ส่วน VPS คือเค้กที่เราแบ่งให้กับคนอื่น ๆ นั้นล่ะ การทำงานของ VPS จะแยกตัวอย่างอิสระ ไม่กระทบต่อระบบปฏิบัติการที่อยู่ในฮาร์ดแวร์ตัวเดียวกัน เป็นการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการสิ้นเปลืองต่อการติดตั้งเซิร์ฟเวอร์หลาย ๆ ตัวด้วย

VPS เหมาะกับธุรกิจตั้งแต่ขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยเฉพาะช่วงเศรษฐกิจฝืดเคืองแบบนี้ จำต้องบริหารทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อประหยัดงบประมาณและนำไปใช้จ่ายในส่วนที่สำคัญกว่า VPS นอกจากเซิร์ฟเวอร์ของระบบปฏิบัติการ Windows และ Linux ก็แบ่งเพื่อเป็นเซิร์ฟเวอร์สำหรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กร เซิร์ฟเวอร์จัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงเซิร์ฟเวอร์จำพวกมัลติมีเดียที่จำเป็นมาก ๆ

 

แล้วธุรกิจขนาดใหญ่สามารถใช้ VPS ได้หรือไม่… คำตอบคือได้เช่นกัน เพื่อแต่ฮาร์ดแวร์ที่ใช้ย่อมมีขนาดใหญ่มากขึ้น และควรวางแผนในอนาคตเผื่อด้วยว่า ความจุที่เลือกมาจะเพียงพอต่อการใช้งานในระยะยาวหรือไม่ การสำรองข้อมูลต่าง ๆ เพื่อบริหารพื้นที่ใช้งานหลักให้เหมาะสม หากวางแผนเป็นระบบที่ชัดเจนแล้ว VPS สามารถใช้งานได้กับธุรกิจทุกประเภท