Cloud Hosting มีดีอย่างไร

คุณผู้อ่านรู้จัก Cloud Hosting กันไหม ถ้ายังไม่รู้จัก ก็มาเริ่มทำความรู้จักกับเทคโนโลยีที่มีชื่อคล้ายก้อนเมฆนี้กันเลยดีกว่า เพราะปัจจุบันระบบ Cloud Hosting เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญบนโลกอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์มาก ๆ ตัวนึง ไม่ว่าเจ้าของเว็บไซต์ทั่วไปหรือองค์กรขนาดใหญ่ต่างก็เลือกใช้บริการ Cloud Hosting กันทั้งนั้น แต่ก่อนจะพูดไปถึงเรื่อง Cloud Hosting เราควรรูจักและทำความเข้าใจกับระบบ Web Hosting กันก่อน

Web Hosting หรือ Hosting คือบริการให้เช่าพื้นที่สำหรับวางระบบเว็บไซต์, ฐานข้อมูล, เมลเซิฟเวอร์ หรือเพื่อประโยชน์ในด้านอื่น ๆ พูดให้เข้าใจง่ายก็คือการให้บริการเช่าเซิฟเวอร์นั่นเอง ซึ่งการ Hosting ทั่วไปจะใช้เครื่องเซิฟเวอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ อาทิเช่น Window หรือ Linux ในการประมวลผลและเก็บข้อมูลเว็บไซต์ของลูกค้า ซึ่งบางผู้ให้บริการอาจจะประหยัดต้นทุนด้วยการใช้ 1 เครื่องต่อเว็บไซต์จำนวนมาก ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เซิฟเวอร์ทำงานหนักเกินไป และมีโอกาสดาวน์สูงด้วย เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับเครื่องเซิฟเวอร์ เว็บไซต์ที่ขึ้นอยู่กับเซิฟเวอร์นั้น ๆ ก็จะใช้งานไม่ได้ชั่วคราวหรืออาจสูญเสียข้อมูลเว็บไซต์ไปถาวรเลยก็ได้ (ในกรณีที่ไม่ได้ทำการ Backup ไว้) ขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของปัญหา

แต่กับ Cloud Hosting ซึ่งเป็นลักษณะของการให้เช่าพื้นที่เซิฟเวอร์แบบใหม่นั้นแตกต่างกัน เพราะระบบ Cloud Hosting เกิดขึ้นจากการใช้เครื่องเซิฟเวอร์หลายตัวเชื่อมต่อกัน โดยมีลักษณะคล้ายกับการรวมตัวของเมฆฝน (เป็นที่มาของชื่อ Cloud นั่นเอง) ซึ่งในระบบ Cloud Hosting นั้น เครื่องเซิฟเวอร์จะทำหน้าที่ประมวลผลเพียงอย่างเดียว ส่วนข้อมูลเว็บไซต์จะถูกเก็บลงใน Storage Server แยกกันกับเครื่องที่ใช้ทำหน้าที่ประมวลผล การใช้เซิฟเวอร์หลายเครื่องทำงานร่วมกันนอกจากจะทำให้มีความเร็วในการประมวลผลมากกว่าการ Hosting แบบปกติแล้ว ยังมีข้อดีตรงที่หากเกิดปัญหากับเซิฟเวอร์ตัวใดตัวหนึ่ง เครื่องที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันก็จะสามารถทำงานแทนได้ทันทีไม่มีสะดุด ไม่ว่าเซิฟเวอร์ที่ประมวลผลจะดาวน์หรือเสียหายเกินแก้ ข้อมูลเว็บไซต์ของลูกค้าก็ยังคงปลอดภัยดีอยู่บน Storage Server จึงรับรองได้ว่าเว็บไซต์ของลูกค้าจะทำงานได้ต่อเนื่อง ไม่เสียผลประโยชน์จากการเสียหายของเซิฟเวอร์แน่นอน

สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์หรือกำลังจะจดโดเมนใหม่ เรากล้ารับประกันเลยว่าระบบ Cloud Hosting มีดีกว่า Hosting แบบเดิมแน่นอน และตราบใดที่โลกยังไม่หยุดหมุน เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ดีกว่า Cloud Hosting ก็อาจจะถูกพัฒนาขึ้นมาในอนาคต เพราะฉะนั้น จงอย่าหยุดติดตามข่าวสาร IT และอัพเดตตัวเองให้ทันเทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นประจำกันล่ะ

ทำความรู้จักกับเทคโนโลยี Cloud hosting

Cloud Hosting มีลักษณะโดดเด่นเหนือการ Hosting แบบปกติ ตรงที่สามารถประมวลผลข้อมูลได้รวดเร็วและต่อเนื่อง ถึงแม้เครื่องเซิฟเวอร์ตัวใดตัวหนึ่งจะทำงานผิดพลาดก็ไม่ต้องรอการแก้ไข เพราะเครื่องอื่น ๆ จะทำงานแทนในส่วนของเครื่องผิดพลาดไปได้ทันที การสำรองข้อมูลแบบ Cloud Hosting ก็ทำข้อมูลของเจ้าของเว็บไซต์ปลอดภัยมากขึ้นด้วย เพราะมีการสำรองข้อมูลโดยจัดเก็บข้อมูลไว้ที่ Backup server เป็นประจำทุก ๆ วัน เมื่อเซิฟเวอร์มีการขัดข้องหรือมีปัญหาอื่น ๆ ก็จะสามารถกู้ข้อมูลกลับมาได้ทันที เหนือกว่า Web Hosting ทั่วไปที่มีการสำรองข้อมูลลง Hard disk ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าเป็น Storage Drive ที่มีความเร็วการประมวลช้าที่สุด การกู้ข้อมูลกลับมาจึงใช้อาจใช้เวลานานถึง 2-3 วันเลยทีเดียวในกรณีที่มีข้อมูลมาก

ทั้งความเสถียรภาพและความปลอดภัยที่ไว้วางใจได้ ทำให้ Cloud Hosting กลายเป็นเทคโนโลยีทางเลือกใหม่ที่เจ้าของเว็บไซต์หรือองค์กรต่าง ๆ ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง รู้อย่างนี้แล้วอย่าลืมติดตามเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อนำเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกันล่ะ.

Cloud Hosting คืออะไร

การ Hosting คือลักษณะของการให้บริการเช่าพื้นที่เซิฟเวอร์เพื่อวางระบบเว็บไซต์นั่นเอง เว็บไซต์ที่คุณเห็นกันมากหน้าหลายตาบนอินเทอร์เน็ต โดยส่วนใหญ่ก็มีการเช่าบริการ Hosting จากผู้ให้บริการรายรายใหญ่ทั้งนั้น เนื่องจากการวางระบบเซิฟเวอร์ให้ทำงานได้เสถียรจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่มีสมรรถภาพสูง, มีผู้เชี่ยวชาญในการวางโครงสร้างระบบ, มีการดูแลควบคุมอุณภูมิตลอดเวลา รวมถึงมีการดูแลรักษาหรือ Maintenance อย่างต่อเนื่องอีกด้วย แค่เท่าที่พูดมาก็ฟังดูใช้ต้นทุนสูงมากแล้วใช่ไหม นี่แหละเป็นเหตุผลที่ทำให้การเช่าบริการ Hosting นั้นคุ้มค่าและสะดวกกว่าสำหรับคนที่อยากทำเว็บไซต์

ในส่วนของ Cloud Hosting นั่น พูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือการใช้ประโยชน์จาก Cloud Technology มาใช้ในการให้บริการเช่าเซิฟเวอร์นั่นเอง ตามปกติหากเครื่องเซิฟเวอร์ของระบบ Hosting ทั่วไปมีความเสียหาย จะต้องรอจนกว่าจะซ่อมเสร็จ แตกต่างกับระบบ Cloud Hosting ที่แบ่งการทำงานไปที่เซิฟเวอร์หลาย ๆ ตัวเพื่อช่วยกันประมวลผล หากเกิดความผิดพลาดกับเซิฟเวอร์ตัวหนึ่ง อีกตัวก็จะทำหน้าที่แทนได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้การประมวลเป็นไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง

ไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมปัจจุบันเจ้าของเว็บไซต์ทั้งบุคคลและองค์กรส่วนใหญ่ถึงกล้าฝากความเชื่อมั่นไว้ที่ Cloud Hosting กันมากขนาดนี้ ทางเราหวังว่าอ่านจบบทความนี้แล้ว ผู้อ่านคงได้ความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ ติดตัวไปไม่บ้างก็น้อย แล้วอย่าลืมติดตามบทความเกี่ยวกับ Cloud Technology อื่น ๆ จากเราเพิ่มเติมล่ะ.

วิธีเลือกธีม WordPress By Wpthaiuser.com

การเลือกธีม WordPress เป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลาพิจารณามากที่สุดแล้วในการทำเว็บไซต์ด้วย WordPress เพราะหากเป็นการทำเว็บจริงจังแล้วเราก็อาจจะไม่อยากเปลี่ยนธีมบ่อยๆ แม้ว่าการเปลี่ยนธีม WordPress ไม่ใช่เรื่องยากก็ตาม แต่การปรับแต่งตรงนู้นตรงนี้ของเดิมให้เข้ากับธีมใหม่นั้นก็ค่อนข้างจุกจิก เปลี่ยนแต่ละทีก็ต้องเซ็ตระบบใหม่จนกว่าจะลงตัว

แต่ละธีมนั้นมีการตั้งค่าพิเศษเฉพาะตัว แล้วแต่ว่าคนที่เขียนหรือสร้างธีมนั้นๆ จะใส่ลูกเล่นและการตั้งค่าอะไรมาบ้าง ดังนั้นเราอาจจะไม่สามารถตั้งค่าแบบเดียวกันในธีที่ต่างกันได้ ยกเว้นธีมที่มาจากคนเขียนคนเดียวกันก็จะมีการตั้งค่าที่คล้ายกัน การตั้งค่านี้ส่วนใหญ่จะเรียกว่า Theme Options นั่นเอง WordPress พยายามผลักดันให้คนเขียนธีมหันไปใช้ Customizer มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานของผู้ใช้งานและลดการตั้งค่าซับซ้อนอื่นๆ ลง

theme-options.png

เราสามารถแบ่งประเภทของธีม WordPress เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้

ธีมเฉพาะด้าน

ธีมเหล่านี้ถูกสร้างมาเพื่อการใช้แบบจำเพาะเจาะจงสำหรับเว็บไซต์แต่ละแนว เช่น เว็บไซต์แมกกาซีนหรือเว็บประเภทข่าว, เว็บไซต์แนว protfolio, เว็บแนวบล็อก, เว็บไซต์แนว Real Estate, eCommerce เป็นธีมปรับแต่งพิเศษสำหรับปลั๊กอิน WooCommerce เป็นต้น ธีมเหล่านี้มีการออกแบบและเพิ่มฟังชั่นพิเศษมาสำหรับเว็บแต่ละด้านอยู่แล้ว ทำให้สะดวกสบายในการใช้งานมากยิ่งขึ้น เว็บขายของออนไลน์ก็จะมีหน้าร้านสวยๆ ต่างจากการใช้ปลั๊กอินอย่างเดียว เว็บโรงแรมก็อาจจะมีระบบจองมาให้ด้วย เว็บเกี่ยวกับการศึกษาก็อาจจะมีระบบจัดการสมาชิกหรือห้องเรียนมาให้ เป็นต้น

นอกจากนี้หลายธีมยังเพิ่มความสามารถในด้านความยืดหยุ่นเข้าไปอีก โดยการใส่ Page Builder Plugin เข้าไป เพื่อให้เราสามารถที่จะออกแบบหน้าบางหน้าเป็นพิเศษได้ เช่น Extra ต่อยอดจาก Divi ที่เป็น Page builder theme อยู่แล้ว แต่นำมาสร้างเป็นธีมเฉพาะด้านสำหรับทำบล็อก ทำให้มีระบบ Divi builder มาในตัว หรือ News Paper เว็บสำหรับทำข่าวหรือนิตยสารนั้นก็จะใส่ปลั๊กอิน Visual Composer ปลั๊กอิน Page Builder ตัวดังเสริมมาให้ด้วย

 

Newspaper ธีมเฉพาะด้านแนวข่าวสารแมกกาซีน

มีเว็บไซต์มากมายที่ขายธีม WordPress โดยเราสามารถที่จะค้นหาตามหมวดหมู่ของเว็บที่ต้องการได้ โดยการใช้งานภายใต้เงื่อนไข เช่น สามารถใช้ 1 ธีม/ 1 เว็บเท่านั้น เช่น Themeforest.net ที่เป็นเจ้าใหญ่ที่สุดในตลาด โดยมีนักเขียนธีมทั่วโลกส่งธีมขึ้นไปขาย

themeforest

นอกจากนี้ยังมีเว็บสร้างธีมที่เขียนธีมขึ้นมาขายเองโดยเฉพาะ ข้อแตกต่างคือเว็บจำพวกนี้สามถใช้ได้แบบไม่จำกัด แถมยังมีการขายแบบแพเกจหรือที่เรียกว่า Plan โดยเป็นการขายแบบเหมารวมทั้งเว็บเป็นต้น เช่น Elegantthemes.com เริ่มต้นที่ $69 ได้ 87 ธีม หรือหากต้องการซื้อแบบแยกเฉพาะธีมเดียวก็ได้ เช่นที่ Mythemeshop.com เป็นต้น

Elegantthemes

Mythemeshop

เราไม่จำเป็นต้องเสียเงินเสมอไป เพราะธีมเฉพาะด้านบางแนว เช่น บล็อก แมกกาซีน portfolio นั้น มีคนเขียนให้ใช้ฟรีเป็นจำนวนมาก หาได้ง่ายๆ โดยการเสริช Google คำว่า WordPress Free Theme แล้วตามด้วยประเภทของธีมที่ต้องการ แต่ควรเลือกจากแหล่งที่ปลอดภัยไว้ก่อน เช่น เว็บที่ขายธีมอย่าง Mythemeshop เอง เขาก็จะมีส่วนของ Free ให้เราได้ทดลองใช้งานอยู่แล้ว ใช้งานได้ดีเช่นกัน หรือในขั้นตอนการติดตั้ง WordPress เขาก็มีธีมฟรีมากมายจาก WordPress.org เอง ให้เราได้เลือกใช้งานได้ฟรีๆ อ่าน การติดตั้งธีม WordPress แต่ระวังอย่าใช้ธีมผิดลิขสิทธิ์ที่แจกตามเว็บทั่วไป เพราะอาจฝังโค้ดอันตรายไว้ก็ได้

ข้อเสียของธีมเฉพาะด้าน

  • หากใช้ธีมเดียวกันทำเว็บหลายเว็บ หน้าตาของเว็บจะคล้ายกันมากๆ เพราะไม่สามารถที่จะปรับแต่งได้ถึงขีดสุด เวลาเปิดดูเว็บบางเว็บแทบจะบอกได้เลยว่าใช้ธีมไหน (เราพูดถึงในกรณีที่เราเป็นคนธรรมดาที่ไม่ได้รู้เรื่อง CSS ในการปรับแต่งธีม) ถ้าทำเว็บใหม่ก็ซื้อธีมใหม่จะดีกว่า
  • ธีมสำหรับเว็บบางประเภทมีเยอะมากๆ เยอะจนอาจจะทำให้มันดูคล้ายๆ กัน แต่ระบบหลังบ้านอาจจะคนละเรื่องเลยก็ได้
  • การปรับแต่งเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะบางธีมอาจสร้าง Theme Options มาแบบน่าปวดหัว เพราะธีมเฉพาะด้านแต่ละแนวก็มีระบบที่ต่างกัน บางแนวที่มีระบบพิเศษเพิ่มเข้ามามากเท่าไหร่ก็จะยิ่งมีการตั้งค่ามากเท่า นั้น ต่างจากธีมแบบ Page Builder ที่อาจจะเยอะเฉพาะโมดูล แต่ Theme Options จะไม่ซับซ้อนมากนัก เพราะเน้นจัดการ Page อย่างเดียว ไม่ได้มีระบบเฉพาะด้านที่ต้องตั้งค่าเป็นพิเศษ

Page Builder Theme

ธีมประเภทนี้ ไม่จำเพาะเจาะจงว่าจะต้องใช้กับเว็บอะไร มีจุดเด่นที่ลูกเล่นและดีไซน์ที่ทำไว้เป็นชุดๆ เรียกว่าโมดูล (Module) ซึ่งเราก็นำโมดูลเหล่านี้แหละไปประกอบกันออกมาเป็นเว็บให้ได้ตามที่ออกแบบ ไว้ Page Builder จะมีความยืดหยุ่นสูงมาก คือนอกจากเราจะสามารถปรับแต่งทั่วไปโดยไม่ต้องรู็โค้ด เพียงแค่คลิกๆ ลากๆ ได้แล้ว หากรู้ CSS หน่อย ก็จะยิ่งสามารถช่วยให้เราปรับแต่งได้ละเอียดขึ้นไปอีก

หลักการทั่วๆ ไปนั้นคล้ายๆ กัน คือ แบ่งแถว (row) และ คอลัมน์ (Column) ให้ได้เลย์เอ้าท์และการจัดวางในแบบที่เราร่างไว้ แล้วแทรกโมดูลต่างๆ ที่ระบบมีให้ แล้วปรับแต่งอีกทีให้เหมือนกับที่ดีไซน์ ทั้งนี้ดีไซน์ของแต่ละธีมก็อาจจะต่างกัน แต่โดยส่วนมากแล้วสามารถที่จะปรับแต่งได้คล้ายๆ กัน

divi-builder

ตัวอย่าง Page Builder ของธีม Divi

 

Divi

Avada

X | The Theme

BeTheme

Enfold

Jupiter

The7

01_main_image.__large_preview

Total

ข้อเสียของการใช้ Page Builder Theme

  • โมดูลส่วนใหญ่จะมีเฉพาะพวกที่คนใช้เยอะๆ ไม่สามารถเพิ่มได้ง่ายๆ
  • ถึงแม้จะขึ้นเว็บได้เร็ว แต่ถ้าปรับแต่งน้อย ก็จะทำให้เว็บแต่ละเว็บหน้าตาคล้ายกันไปหมด ดังนั้นผู้ใช้งานควรมีความสามารถในการออกแบบ รู้ว่าจะเปลี่ยนตรงไหนเพื่อสร้างความต่างให้เว็บ เราอาจลดเวลาในการสร้างธีมแต่เอาเวลาตรงนี้มาทุ่มให้กับการปรับแต่งแทน ถ้าทำให้คนอื่นจำไม่ได้ว่าเราใช้ธีมอะไรถือว่าประสบผลสำเร็จ
  • ธีมที่ฝัง Page Builder Plugin เข้าไปแทนการสร้างระบบของตัวเองนั้นเมื่อมีการอัพเดตจำเป็นต้องพึ่งพาหรือรอ การอัพเดตจากคนที่เขียนปลั๊กอินอีกที
  • ธีมประเภทนี้ยังคงแข่งกันในการลดขนาดเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น เพราะบางระบบก็ค่อนข้างหนักและช้าพอสมควร
  • เมื่อมีการเปลี่ยนธีม ส่วนใหญ่แล้วธีมหรือปลั๊กอิน Page Builder จะคลายร่างสวยๆ ออกมาเป็น Shortcode ยังกับรหัสลับดาวินชีทันที จะเป็นเรื่องโกลาหลมากถ้าหากคุณใช้ Page Builder นี้กับ Post จำนวนมาก ดังนั้นควรใช้ตามชื่อมัน คือใช้ทำ Page ที่ต้องการให้มีความน่าสนใจเป็นพิเศษเท่านั้น นอกเสียจากว่าคุณไม่คิดจะเปลี่ยนธีมอีกเลย

 

ตัวอย่าง shortcode ของธีม Divi

ตัวอย่าง shortcode ของธีม Divi

ขั้นตอนในการเลือก WordPress Theme ให้ถูกใจ

  1. รู้ว่าตัวเองกำลังจะทำเว็บเกี่ยวกับอะไร
  2. เลือกสไตล์ของเว็บที่ชอบ แล้วเลือกเอาซักแนว เช่น แบบเรียบง่าย หรือแบบสีสัน ลูกเล่น
  3. ดู Features ต่างๆ ของธีมที่เราเล็งๆ ไว้ ว่ามีฟังชั่นพิเศษอะไร สามารถปรับแต่งตรงไหนได้บ้าง จุดเด่น จุดด้อยที่เรารับได้ การต่อยอดในอนาคต
  4. รู้จักวางแผนล่วงหน้า เช่น ถ้าตรงนี้ธีมเราไม่มีแล้วเราจะสามารถหาอะไรมาทดแทนได้ มีปลั๊กอินไหนที่จะขยายความสามารถตรงนี้ได้บ้าง หากลองหาแล้วไม่เจอธีมที่ตรงตามความต้องการจริงๆ (น้อยมากที่จะตรงเป๊ะ) การรู้ว่าเราจะไปต่อยังไงจะช่วยให้เรามีหนทางอยู่เสมอ
  5. ธีมเฉพาะด้านมักจะใช้งานง่ายกว่า และตรงเป้ากว่าหากเว็บที่เราจะทำนั้นมีธีมเฉพาะด้านอยู่ก็ให้ลองดูเป็นอันดับแรก
  6. ดู Demo ของธีม ซึ่งก็คือตัวอย่างขณะออนไลน์จริงนั่นเอง บางธีมจะมีตัวอย่างหลายแบบเพื่อให้เราพอนึกภาพออกว่ามันสามารถปรับแต่งได้ยังไงบ้าง
  7. ศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขการใช้งานและซัพพอร์ต หรือบริการเสริมอื่นๆ เช่น สามารถอัพเดตได้นานเท่าไหร่ มีบริการช่วยเหลืออย่างไร สามารถใช้ได้กี่เว็บ เป็นต้น
  8. หากเขามีธีมฟรีก็ลองโหลดมาเล่นดูซักตัว ผู้ขายบางเจ้ามักจะใช้ระบบเดียวกันกับทุกธีม เราอาจจะได้เห็นว่าการตั้งค่าการใช้งานต่างๆ นั้นทำได้ยากง่ายแค่ไหน
  9. ถ้าเป็นไปได้ ให้พยายามดูฟีดแบคจากคนที่เราจะซื้อด้วย อาจจะใช้วิธีการเสริช หรืออ่านจากการตอบคอมเม้นท์หรือเว็บบอร์ดถ้าเขาเปิดให้เข้าดูได้ เช่น Themeforest เราสามารถที่จะดูคอมเม้นท์ได้หมด
  10. สุดท้ายแล้ว หากไม่ได้ตรงตามที่ต้องการจริงๆ ทั้งในเรื่องของการออกแบบและระบบที่เราต้องการ อาจจะต้องพึ่งมืออาชีพสร้างให้โดยเฉพาะ แม้จะพูดได้ว่า WordPress สามารถที่จะทำเว็บได้ทุกเว็บก็จริง แต่บางทีการเขียนเองเพื่อการใช้งานเฉพาะก็สะดวกและง่ายกว่าการนั่งปรับแต่ง หากทางเลือกนี้เป็นทางเลือกสุดท้าย ก็ควรเตรียมทุนไว้ให้ดี และข้อตกลงต้องชัดเจนทั้ง 2 ฝ่ายนะคะ