อะไรที่ทำให้ Cloud Hosting แตกต่าง

สำหรับคนที่อยู่ในแวดวง IT และคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงบุคคลทั่วไปที่ชื่นชอบและติดตามด้านเทคโนโลยีเป็นประจำแล้ว คงไม่มีใครไม่รู้จักคำว่า Web Hosting หรือ Hosting แน่นอน เพราะเว็บไซต์ที่คุณเข้าถึงกันอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะ Google, Facebook, YouTube หรือแม้แต่เว็บไซต์ของเรา ต่างก็มีพื้นฐานอยู่บนการ Hosting ทั้งนั้น เกริ่นมาขนาดนี้หลาย ๆ คนคงเดาได้แล้วใช่ไหม ว่าบทความในวันนี้ต้องหนีไม่พ้นเรื่องเกี่ยวกับการ Hosting แน่นอน ซึ่งเราจะถือว่าคุณเดาถูก แต่ยังถูกไม่หมดนะ เพราะวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของระบบ Cloud Hosting กัน ว่ามีคุณสมบัติดีอย่างไร ทำไมเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยเฉพาะขององค์กรใหญ่ ๆ เริ่มหันมาใช้บริการแทนระบบ Web Hosting แบบเดิมกันถ้วนหน้า

ลักษณะการทำงานของ Web Hosting แบบเก่าจะใช้เครื่องเซิฟเวอร์ 1 ตัวทำหน้าที่ทั้งประมวลผลและเก็บข้อมูลเว็บไซต์ของลูกค้าหลายคน เวลาเซิฟเวอร์ดาวน์หรือมีปัญหา เว็บไซต์ของลูกค้าก็จะเข้าถึงไม่ได้ชั่วคราวจนกว่าจะซ่อมเสร็จ ซ้ำร้ายหากเครื่องเซิฟเวอร์เกิดเสียหายหนัก (จากอุบัติเหตุ เช่น ไฟไหม้, ไฟช็อต, น้ำท่วม ฯลฯ) ข้อมูลเว็บไซต์ก็อาจสูญหายไปได้ถาวร แต่กับ Cloud Hosting นั้นจะแยกส่วนการประมวลผลกับเก็บข้อมูลชัดเจน โดยใช้เครื่องเซิฟเวอร์หลายตัวเชื่อมต่อกันทำหน้าที่ประมวลผลอย่างเดียว แล้วใช้ Storage Server ซึ่งทำหน้าที่เหมือนกับ Hard disk เป็นที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์แทน นอกจากจะทำให้ข้อมูลปลอดภัยมากกว่าแล้ว ยังทำให้มีการประมวลผลต่อเนื่องกว่าด้วย เพราะเมื่อเซิฟเวอร์ตัวใดตัวหนึ่งทำงานผิดพลาด ตัวอื่น ๆ ที่เหลือก็สามารถประมวลผลแทนได้โดยไม่มีสะดุด

ในกรณีที่เครื่องเซิฟเวอร์เกิดปัญหานั้น สามารถแก้ปัญหาได้โดยการเอาไปซ่อมหรือหาเครื่องทดแทนมาเปลี่ยน ซึ่งระหว่างนี้เว็บไซต์จะไม่สามารถเข้าถึงได้เลยสำหรับ Web Hosting แบบเก่า ยิ่งถ้าเครื่องตกรุ่นไปแล้วก็ยิ่งหาอะไหล่ซ่อมแซมยาก จนบางทีอาจจะใช้เวลานานเป็นวัน ๆ หรือหลายสัปดาห์เลยทีเดียว โชคดีที่ปัญหานี้ไม่เกิดกับ Cloud Hosting เพราะเราสามารถเปลี่ยนเครื่องทดแทนหรือซ่อมเซิฟเวอร์ได้โดยไม่ต้องกลัวเลยว่าการประมวลผลจะสะดุดหรือไม่ รวมถึงเว็บไซต์ก็สามารถเข้าถึงได้โดยไม่มีปัญหาแม้แต่วินาทีเดียว

หากคุณกำลังมองหา Hosting ที่น่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพ ขณะนี้ไม่มีอะไรตอบโจทย์ไปกว่า Cloud Hosting อีกแล้ว การันตีโดยผู้ใช้งานทั่วโลกเลยนะจะบอกให้.

 

 

 

Cloud Hosting มีดีอย่างไร

คุณผู้อ่านรู้จัก Cloud Hosting กันไหม ถ้ายังไม่รู้จัก ก็มาเริ่มทำความรู้จักกับเทคโนโลยีที่มีชื่อคล้ายก้อนเมฆนี้กันเลยดีกว่า เพราะปัจจุบันระบบ Cloud Hosting เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญบนโลกอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์มาก ๆ ตัวนึง ไม่ว่าเจ้าของเว็บไซต์ทั่วไปหรือองค์กรขนาดใหญ่ต่างก็เลือกใช้บริการ Cloud Hosting กันทั้งนั้น แต่ก่อนจะพูดไปถึงเรื่อง Cloud Hosting เราควรรูจักและทำความเข้าใจกับระบบ Web Hosting กันก่อน

Web Hosting หรือ Hosting คือบริการให้เช่าพื้นที่สำหรับวางระบบเว็บไซต์, ฐานข้อมูล, เมลเซิฟเวอร์ หรือเพื่อประโยชน์ในด้านอื่น ๆ พูดให้เข้าใจง่ายก็คือการให้บริการเช่าเซิฟเวอร์นั่นเอง ซึ่งการ Hosting ทั่วไปจะใช้เครื่องเซิฟเวอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ อาทิเช่น Window หรือ Linux ในการประมวลผลและเก็บข้อมูลเว็บไซต์ของลูกค้า ซึ่งบางผู้ให้บริการอาจจะประหยัดต้นทุนด้วยการใช้ 1 เครื่องต่อเว็บไซต์จำนวนมาก ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เซิฟเวอร์ทำงานหนักเกินไป และมีโอกาสดาวน์สูงด้วย เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับเครื่องเซิฟเวอร์ เว็บไซต์ที่ขึ้นอยู่กับเซิฟเวอร์นั้น ๆ ก็จะใช้งานไม่ได้ชั่วคราวหรืออาจสูญเสียข้อมูลเว็บไซต์ไปถาวรเลยก็ได้ (ในกรณีที่ไม่ได้ทำการ Backup ไว้) ขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของปัญหา

แต่กับ Cloud Hosting ซึ่งเป็นลักษณะของการให้เช่าพื้นที่เซิฟเวอร์แบบใหม่นั้นแตกต่างกัน เพราะระบบ Cloud Hosting เกิดขึ้นจากการใช้เครื่องเซิฟเวอร์หลายตัวเชื่อมต่อกัน โดยมีลักษณะคล้ายกับการรวมตัวของเมฆฝน (เป็นที่มาของชื่อ Cloud นั่นเอง) ซึ่งในระบบ Cloud Hosting นั้น เครื่องเซิฟเวอร์จะทำหน้าที่ประมวลผลเพียงอย่างเดียว ส่วนข้อมูลเว็บไซต์จะถูกเก็บลงใน Storage Server แยกกันกับเครื่องที่ใช้ทำหน้าที่ประมวลผล การใช้เซิฟเวอร์หลายเครื่องทำงานร่วมกันนอกจากจะทำให้มีความเร็วในการประมวลผลมากกว่าการ Hosting แบบปกติแล้ว ยังมีข้อดีตรงที่หากเกิดปัญหากับเซิฟเวอร์ตัวใดตัวหนึ่ง เครื่องที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันก็จะสามารถทำงานแทนได้ทันทีไม่มีสะดุด ไม่ว่าเซิฟเวอร์ที่ประมวลผลจะดาวน์หรือเสียหายเกินแก้ ข้อมูลเว็บไซต์ของลูกค้าก็ยังคงปลอดภัยดีอยู่บน Storage Server จึงรับรองได้ว่าเว็บไซต์ของลูกค้าจะทำงานได้ต่อเนื่อง ไม่เสียผลประโยชน์จากการเสียหายของเซิฟเวอร์แน่นอน

สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์หรือกำลังจะจดโดเมนใหม่ เรากล้ารับประกันเลยว่าระบบ Cloud Hosting มีดีกว่า Hosting แบบเดิมแน่นอน และตราบใดที่โลกยังไม่หยุดหมุน เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ดีกว่า Cloud Hosting ก็อาจจะถูกพัฒนาขึ้นมาในอนาคต เพราะฉะนั้น จงอย่าหยุดติดตามข่าวสาร IT และอัพเดตตัวเองให้ทันเทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นประจำกันล่ะ

ทำความรู้จักกับเทคโนโลยี Cloud hosting

Cloud Hosting มีลักษณะโดดเด่นเหนือการ Hosting แบบปกติ ตรงที่สามารถประมวลผลข้อมูลได้รวดเร็วและต่อเนื่อง ถึงแม้เครื่องเซิฟเวอร์ตัวใดตัวหนึ่งจะทำงานผิดพลาดก็ไม่ต้องรอการแก้ไข เพราะเครื่องอื่น ๆ จะทำงานแทนในส่วนของเครื่องผิดพลาดไปได้ทันที การสำรองข้อมูลแบบ Cloud Hosting ก็ทำข้อมูลของเจ้าของเว็บไซต์ปลอดภัยมากขึ้นด้วย เพราะมีการสำรองข้อมูลโดยจัดเก็บข้อมูลไว้ที่ Backup server เป็นประจำทุก ๆ วัน เมื่อเซิฟเวอร์มีการขัดข้องหรือมีปัญหาอื่น ๆ ก็จะสามารถกู้ข้อมูลกลับมาได้ทันที เหนือกว่า Web Hosting ทั่วไปที่มีการสำรองข้อมูลลง Hard disk ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าเป็น Storage Drive ที่มีความเร็วการประมวลช้าที่สุด การกู้ข้อมูลกลับมาจึงใช้อาจใช้เวลานานถึง 2-3 วันเลยทีเดียวในกรณีที่มีข้อมูลมาก

ทั้งความเสถียรภาพและความปลอดภัยที่ไว้วางใจได้ ทำให้ Cloud Hosting กลายเป็นเทคโนโลยีทางเลือกใหม่ที่เจ้าของเว็บไซต์หรือองค์กรต่าง ๆ ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง รู้อย่างนี้แล้วอย่าลืมติดตามเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อนำเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกันล่ะ.

Cloud Hosting คืออะไร

การ Hosting คือลักษณะของการให้บริการเช่าพื้นที่เซิฟเวอร์เพื่อวางระบบเว็บไซต์นั่นเอง เว็บไซต์ที่คุณเห็นกันมากหน้าหลายตาบนอินเทอร์เน็ต โดยส่วนใหญ่ก็มีการเช่าบริการ Hosting จากผู้ให้บริการรายรายใหญ่ทั้งนั้น เนื่องจากการวางระบบเซิฟเวอร์ให้ทำงานได้เสถียรจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่มีสมรรถภาพสูง, มีผู้เชี่ยวชาญในการวางโครงสร้างระบบ, มีการดูแลควบคุมอุณภูมิตลอดเวลา รวมถึงมีการดูแลรักษาหรือ Maintenance อย่างต่อเนื่องอีกด้วย แค่เท่าที่พูดมาก็ฟังดูใช้ต้นทุนสูงมากแล้วใช่ไหม นี่แหละเป็นเหตุผลที่ทำให้การเช่าบริการ Hosting นั้นคุ้มค่าและสะดวกกว่าสำหรับคนที่อยากทำเว็บไซต์

ในส่วนของ Cloud Hosting นั่น พูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือการใช้ประโยชน์จาก Cloud Technology มาใช้ในการให้บริการเช่าเซิฟเวอร์นั่นเอง ตามปกติหากเครื่องเซิฟเวอร์ของระบบ Hosting ทั่วไปมีความเสียหาย จะต้องรอจนกว่าจะซ่อมเสร็จ แตกต่างกับระบบ Cloud Hosting ที่แบ่งการทำงานไปที่เซิฟเวอร์หลาย ๆ ตัวเพื่อช่วยกันประมวลผล หากเกิดความผิดพลาดกับเซิฟเวอร์ตัวหนึ่ง อีกตัวก็จะทำหน้าที่แทนได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้การประมวลเป็นไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง

ไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมปัจจุบันเจ้าของเว็บไซต์ทั้งบุคคลและองค์กรส่วนใหญ่ถึงกล้าฝากความเชื่อมั่นไว้ที่ Cloud Hosting กันมากขนาดนี้ ทางเราหวังว่าอ่านจบบทความนี้แล้ว ผู้อ่านคงได้ความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ ติดตัวไปไม่บ้างก็น้อย แล้วอย่าลืมติดตามบทความเกี่ยวกับ Cloud Technology อื่น ๆ จากเราเพิ่มเติมล่ะ.